๒๔
เมษายน ๒๕๔๔
หน้าที่ ๑
|
||||||||||
ตั้งแต่ได้มีโอกาสทำเว็บไซต์หลวงปู่มั่น ก็มีความมุ่งหมายว่าน่าจะได้ไปเยือนสถานที่ต่างๆ
ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่สักครั้ง เพื่อตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
รวมถึงการเก็บภาพต่างๆ ไว้ก่อนที่สถานที่ต่างๆ จะชำรุดสลายไปตามกาลเวลา แต่เนื่องด้วยสถานที่ต่างๆ
นั้นอยู่ในต่างจังหวัด ไม่ค่อยสะดวกนักที่จะไป และก็เดินทางไปไม่ถูกด้วย
จนกระกระทั้งปี 2546 ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ต้อนรับน้องกอล์ฟเข้ามาเป็นนิสิตชั้นปีที่
1 เมื่อได้มีโอกาสพูดคุยกันจึงได้ทราบว่าเป็นคนบ้านกุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร
ใกล้ๆ กับ บ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม อันเป็นที่ตั้งของวัดป่าภูริทัตตถิราวาส
หรือวัดป่าบ้านหนองผือ ซึ่งน้องกอล์ฟก็ได้ไปทำบุญที่วัดนี้เป็นประจำ และคุณยายของน้องกอล์ฟเองก็เป็นคนบ้านหนองผือ
ที่เกิดทันและเคยใส่บาตรหลวงปู่มั่นอีกด้วย ถือว่าเป็นทายาทของบ้านหนองผือโดยแท้
เป็นจุดประกายแรกในความหวังของข้าพเจ้า
จนวันนั้นก็มาถึง คือในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนนี้เอง จึงได้ตัดสินใจไปเยือนบ้านน้องกอล์ฟ ระหว่างวันที่ 23 - 26 เมษายน 2547 โดยเรียกการเดินทางครั้งนี้ว่า "ตามรอยธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ" รวมระยะเวลาการเดินทาง 4 คืน 3 วัน อยู่ในจังหวัดสกลนคร 3 วัน 2 คืน คืนวัน 23 เมษายน 2547 เวลา 19.30 น. ได้เดินทางโดยรถ ป.2 ( ค่าเดินทาง 280 บาท ) กรุงเทพ - สกลนคร จากจังหวัดสกลนคร โดยมีน้องเตียงรุ่นน้องของข้าพเจ้ารุ่นเดียวกับน้องกอล์ฟร่วมเดินทางไปด้วย ลงรถที่สี่แยกเขื่อนน้ำพุงก่อนเข้าตัวจังหวัดประมาณ 60 กิโลเมตร เวลา 6.00 น. ของเช้าวันใหม่ ณ ที่นี้ น้องกอล์ฟและคุณพ่อได้นำรถมารับ แวะเข้าบ้านที่บ้านกุดบาก เพื่อนำภัตตาหารเช้ามาถวายพระ แล้วเดินทางเข้าสู่วัดป่าบ้านหนองผือต่อไป เส้นทางเข้าสู่วัดป่าบ้านหนองผือนั้นจะอยู่ก่อนเข้า อ.เมือง อยู่ก่อนที่จะถึงพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์และโค้งปิ้งงูซึ่งที่มีหลักกิโลเมตรซึ่งเคยใหญ่ที่สุดในประเทศไทยตั้งอยู่ โดยเลี้ยวซ้ายที่สามแยกลาดกระเฌอ กลางภูพานสำหรับผู้ที่จะเดินทางมาเองนั้นให้ไปลงรถที่ อ.เมือง แล้วต่อรถ 2 แถวเข้าบ้านหนองผือ ซึ่งใช้ระยะเวลานานสักหน่อย สัมผัสแรกวัดป่าบ้านหนองผือ
เมื่อข้าพเจ้าทานข้าวเช้าที่เหลือจากประเคนพระทั้งหมดเป็นอาหารพื้นเมืองอิสาน ส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นเมืองและเครื่องเทศต่างๆ โดยอาหารขึ้นชื่อของบ้านหนองผือ คือ แกงผักหวายข้าพเจ้าก็ได้ลิ้มลองครั้งแรกที่นี่ พบแล้ว ผู้ที่ทันหลวงปู่มั่น
แล้วคุณตายังเล่าถึงความประทับใจของคุณตาด้วยว่า "หลวงตามหาบัวท่านขยันมาก ไปหามหลวงปู่มั่นอยู่ตลอดเวลา"
ทานข้าวเสร็จจึงได้เดินเยี่ยมชมวัด สภาพวัดเป็นป่าเบญจพรรณ มีต้นตะเคียนต้นใหญ่ๆ กระจายตัวอยู่ทั่วไปในวัดมากมาย มีป้ายบอกถึงบริเวณซึ่งเคยเป็นที่ตั้งกุฏิของครูบาอาจารย์ที่เคยมาพักจำพรรษาที่นี่ เช่น หลวงปู่หลุย จันทสาโล, หลวงปู่หล้า เขมปัตโต, พระอาจารย์วัน อุตตโม, หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันกุฏิของครูบาอาจารย์ดังกล่าวได้ผุพังไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีกุฏิที่ยังคงสภาพอยู่ ได้แก่กุฏิของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน, หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร เป็นต้น และกุฏิที่สำคัญที่สุดก็คือ กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นกุฏิไม้ขนาดใหญ่พอสมควร มีห้องจำวัดห้องเล็กๆ ด้านในห้องยังมีเครื่องใช้ของท่านบางอย่าง เช่น ธรรมมาสน์ เตียง เก้าอี้ ซึ่งพระอาจารย์พยุงได้เล่าว่าเป็นฝีมือของหลวงปู่หล้า เขมปัตโตทำขึ้นถวายหลวงปู่มั่น ด้านนอกเป็นยกพื้นสำหรับท่านนั่ง ปัจจุบันประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งเป็นอนุสรณ์ถึงองค์ท่าน โดยรอบเป็นชาน มีลักษณะเช่นเดียวกับกุฏิหลวงตามหาบัว ที่สวนแสงธรรม ใช้ประโยชน์ในการประชุมสงฆ์อบรมฟังธรรมจากองค์ท่าน ปัจจุบันทางวัดได้ห้ามขึ้นกุฏิอย่างเด็ดขาด เพื่ออนุรักษ์กุฏิเอาไว้ให้นานเท่านานที่สุด ด้านข้างเป็นทางเดินจงกรม หัวท้ายทางปลูกต้นมะพร้าวไว้ โดยหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโตเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรเป็นผู้ปลูกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2489 แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าต้นหนึ่งได้ยืนต้นตายไปแล้ว เหลือแต่ต้นทางด้านหลังกุฏิที่ยังยืนต้นอยู่ นอกจากนี้ก็ยังมีไก่ป่าซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัด มีอยู่หลายร้อยตัว ชาวบ้านถือกันว่าเป็นไก่ที่รังแกไม่ได้
แล้วก็ได้ไปพักผ่อนอยู่บ้านคุณยายของน้องกอล์ฟ ได้เห็นวิถีชิวิตเก่าๆ ของชาวบ้านหนองผือ การทำครัวที่ยังอนุรักษ์เครื่องมือเครื่องใช้เก่าๆ เช่น เตา ไหปลาล้า น้ำเต้า ซึ่งเป็นของเก่าแก่หลายสิบปี และได้ทานอาหารกลางวันที่นี่ เป็นอาหารพื้นเมืองของบ้านหนองผือทั้งหมด เมื่อองค์หลวงปู่มั่นยังดำรงค์ขันธ์อยู่ก็ได้ฉันอาหารแบบนี้แหละครับ |