|
พระพุทธศาสนามีธุระสำคัญ
๒ ประการ คือ
|
๑.
คันถธุระ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ ให้มีความรู้พระธรรมพระวินัย
เพื่อดำรงรักษาตำราไว้มิให้ เสื่อมสูญ จะได้เป็นแบบแก่ผู้ต้องการปฏิบัติ |
๒.
วิปัสสนาธุระ ได้แก่การศึกษาอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนา
เพื่อให้รู้แจ้งธรรมและกำจัดกิเลส ออกจากจิตใจ |
ธุระทั้งสองนี้ได้มีมาตั้งแต่แรกตั้งพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาได้ทรงแสดงธรรมและบัญญัติวินัยขึ้นแต่อย่างใด
พระสาวกย่อมเอาธุระจดจำและสังวัธยาย บ่อยๆขณะเดียวกันก็เอาธุระปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนั้น
จนสามารถรู้แจ้งธรรม และกำจัดกิเลสจากจิตใจได้เด็ดขาด โดยเอกเทศบ้าง
โดยสิ้นเชิงบ้าง
ท่านผู้กำจัดกิเลสได้เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว
เรียกว่าพระอรหันต์ ย่อมเอาธุระจดจำพระพุทธวจนะ และช่วยพระ บรมศาสดาทำการอบรมสั่งสอนประชาชน
ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเถระ เป็นต้น จำนวน ๕๐๐ รูป
ล้วนแต่ผู้สำเร็จอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณได้ชุมนุมกัน |
|
รวบรวมพระธรรม
พระวินัยที่พระบรมศาสดาทรงแสดงและทรงบัญญัติไว้ มาร้อยกรองจัดเข้าระเบียบ
หมวดหมู่ |
สำเร็จเป็นคัมภีร์พระไตรปิฏก
เป็นตำราของพระพุทธศาสนานำสืบกันมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้
พระพุทธศาสนาได้มาประดิษฐานในประเทศของเรา
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๐๐-๔๐๐ โดยการนำของพระเถระ ๒ รูป คือ พระโสณเถระ
และพระอุตตรเถระ
สมณวงศ์ในประเทศของเรา
ไม่เคยปรากฏว่าขาดสูญ พระมหากษัตริย์ทรงเอาพระราชธุระ บำรุงพระพุทธศาสนาตลอดมาทุกสมัย
ครั้นปรากฏว่าสมณวงศ์ในประเทศอื่นประพฤติดีงามน่าเลื่อมใส
ก็เอาพระราชธุระอาราธนา มาซ่อมแปลง สมณวงศ์ในประเทศให้ดีงามขึ้น
|
เช่น
ในสมัยสุโขทัย พระร่วง เจ้าทรงอาราธนาพระสงฆ์ชาวลังกามาไว้ในพระราชอาณาจักร |
กุลบุตรผู้เลื่อมใสก็ได้บรรพชาอุปสมบทในพระสงฆ์ชาวลังกา
แม้พระภิกษุสามเณรบางองค์ ก็ได้บวชแปลง ใหม่ในพระสงฆ์ลังกาด้วย |
ในสมัยอยุธยาก็เช่นเดียวกัน
ปรากฏว่าพระสงฆ์แบบลังกา ได้รับพระราชูปถัมภ์ไว้ในพระราชอาณาจักร
มีกุลบุตรเลื่อมใสศรัทธาบรรพชาอุปสมบทในคณะสงฆ์นั้นสืบมา
ตั้งแต่แรกตั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงเสียกรุง
การคณะสงฆ์ในสมัยโบราณของประเทศเรา
ได้แบ่งงานออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายคันถธุระ เรียกว่า คามวาสี เอาธุระทางศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์
มีพระสังฆราชเป็นประมุข และมีสังฆนายก ผู้รับสนอง พระบัญชาบริหารหมู่คณะในฝ่ายนั้น
ส่วนฝ่ายวิปัสสนาธุระ
เรียกว่า อรัญญวาสี บ้าง วนวาสี บ้าง เอาธุระศึกษาอบรมทางสมถะ และวิปัสสนา
มีพระสังฆราชเป็นประมุข และมีสังฆนายกผู้รับสนองพระบัญชาบริหารหมู่คณะในฝ่ายนั้นเช่นเดียวกัน
ระเบียบนี้ได้ดำเนินมาจนถึงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาจึงเปลี่ยนแปลง
ให้มีพระสังฆราชเพียงองค์เดียว
แต่คงให้มีสังฆนายกสองฝ่าย คือ ฝ่ายคามาวาสีและอรัญญวาสี หรือเรียก
อีกอย่างว่าฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ต่างก็รับสนองพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชไปบริหารงานในฝ่ายของ
ตน
ระเบียบนี้ได้มีมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
(กรุงเทพฯ) เพิ่งเลิกล้มไปเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕
ทรงออกพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์
ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) โดยจัดการปกครองอนุโลมฝ่ายบ้านเมือง
เจ้าคณะผู้บริหารการคณะในท้องถิ่น
ย่อมมีหน้าที่บริหารทั้งทางคันถธุระ ทั้งทางวิปัสสนาธุระ
เมื่อความเปลี่ยนแปลงทางฝ่ายบริหารเป็นอย่างนี้
ธุระทั้ง ๒ จึงได้รับความเอาใจใส่ไม่เท่ากัน
งามฝ่ายคันถธุระได้เจริญก้าวหน้าไปมาก
แต่งานฝ่ายวิปัสสนาธุระได้ซบเซาลง
การที่ยังคงมีอยู่ก็โดยอุปนิสัยของพระเถรานุเถระ
ผู้เห็นความสำคัญของงานฝ่ายนี้ ได้เอาใจใส่ปฏิบัติแนะนำ ศิษยานุศิษย์ในทางนี้สืบๆ
กันมา
|
ภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติกาชั้นแรก
เอาธุระทั้งสองอย่าง หน้าฝนซึ่งเป็นฤดูกาลจำพรรษา ได้เอาธุระศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์
พอตกหน้าแล้งมักเอาธุระทางวิปัสสนา ออกแสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญสมณธรรม
แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
ผู้ทรงสถาปนาคณะธรรมยุติกาขณะยังทรงผนวชอยู่ ก็ทรงเอาธุระทาง
วิปัสสนาด้วย ได้เสด็จธุดงค์ไปถึงหัวเมืองเหนือ เช่น เมืองสุโขทัย
เป็นต้น |
พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
พระเถระผู้ใหญ่ในคณะธรรมยุติการุ่นแรก
มีชื่อเสียงทางวิปัสสนาธุระหลายรูป เช่น
|
|
สมเด็จพระวันรัต
(ทับ พุทฺธสิริ)
วัดโสมนัส พระนคร
|
พระอมรา
ภิรักขิต (เกิด)
วัดบรมนิวาส พระนคร
|
สมเด็จพระพุฒาจารย์
(ศรี) วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร
พระอมรา
ภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาส พระนคร
พระครูศิริปัญญามุนี
(อ่อน) วัดเทพนิมิตร ฉะเชิงเทรา
ญาท่านพระพนฺธุโล
(ดี) วัดสุปัฏน์ อุบลราชธานี
และญาท่านพระเทวธมฺมี
(ม้าว) วัดศรีทอง อุบลราชธานี
รุ่นต่อมามีสมเด็จพระพุฒาจารย์
ญาท่านเจ้า (เขียว) วัดราชาธิวาส และสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)
วัดโสมนัส พระนคร เป็นต้น
หน้าต่อไป