........ พูดเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉัยงเหนือ
ญาท่านพระพนฺธุโล (ดี) ปุราณสหธรรมมิก และญาท่านเจ้าพระ
เทวธมฺมี (ม้าว) สัทธิวิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าสมัยทรงผนวช
|
........
ท่านทั้งสองได้นำแบบแผนการปฏิบัติพระธรรมวินัย ตามแบบคณะธรรมยุติขึ้นมาเผยแพร่
ได้ตั้งการศึกษาอบรมทั้งทางคันถธุระ ทั้งทางวิปัสสนาธุระ ณ วัดสุปัฏน์
และวัด ศรีทอง จ. อุบลราชธานี และขยายไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด
มีจังหวัดอุดรธานี และขอนแก่น เป็นต้น โดยลำดับ |
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
( สิริจันทเถระ จันทร์ )
|
........
สมัยต่อมา เจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันทเถระจันทร์)
สัทธิวิหาริกของญาท่านพระเทวธมฺมี (ม้าว) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้มาเป็นผู้อำนวยการศึกษา
และเป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน ท่านก็ได้เอาธุระทั้งสองอย่าง แม้องค์ท่านเอง
ก็ออกเดินธุดงค์แสวงหาวิเวกบำเพ็ญภาวนา ภายหลังท่านเข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯ
ก็เอาธุระทั้งสองตลอดชีวิต มีชื่อเสียงเด่นทางวิปัสสนาธุระองค์หนึ่ง
เป็น ที่รู้จักและเคารพนับถือของพุทธบริษัททั่วไป สมัยต่อมาอีก
เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสเถระ อ้วน) เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสานสืบต่อจากเจ้า พระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์
|
|
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
( ติสสเถระ อ้วน )
|
|
........
ได้มีพระอาจารย์สองรูป คือ พระอาจารย์เสาร์
กันตสีลเถระ และเจ้าคุณพระปัญญาพิสาลเถระ (หนู) เอาธุระ
ทางวิปัสสนาธุระ เป็นกำลังของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทางด้านวิปัสสนาธุระ
|
พระครูวิเวกพุทธกิจ
( พระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ )
|
........ ครั้นเจ้าคุณพระปัญญาพิสาลเถระได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เข้าไปเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวันแล้ว
ก็ยังเหลือแต่พระอาจารย์เสาร์ เพียงองค์เดียวนำหมู่คณะทางวิปัสสนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สมัยนั้นพระอาจารย์เสาร์ได้ศิษย์สำคัญองค์หนึ่ง คือ พระอาจารย์มั่น
ภูริทัตตเถระ ทำให้ได้กำลังในการเผย แพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระมากขึ้น
และพระอาจารย์มั่น ได้ศิษย์สำคัญอีกองค์หนึ่ง คือ พระญาณวิศิษฏ์
(พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม) ทั้งสามท่านได้ร่วมจิตใจกันเอาธุระทางวิปัสสนาอย่างเต็มกำลัง
........
ครั้นมาเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์
(ติสสเถระ อ้วน) เล็งเห็นความ สำคัญของงานด้านนี้ยิ่งขึ้น
จึงมีบัญชาให้เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ (พระอาจารย์สิงห์) มาอยู่จังหวัดนครราชสีมา
ให้ดำเนินงานวิปัสสนา ในความอำนวยการของท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา |
|
พระครูวินัยธรภูริทัตโต
( พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถร )
|
|
........ เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ได้เอาธุระในการนี้
เป็นกำลังของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ กำลังหนึ่ง ครั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เข้าไปเป็น เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสแล้ว
ท่านก็ได้บัญชาสั่งให้ เจ้าคุณญาณวิศิษฏ์ (พระอาจารย์สิงห์)
และพระมหาปิ่น ปัญญาพโลเปรียญโท อาจารย์ วิปัสสนา ไปช่วยเป็นธุระในการให้การศึกษา อบรมทางวิปัสสนาแก่พุทธบริษัท
ในวัดบรมนิวาสคนละ
๑ ปี
|
พระญาณวิศิษฏ์
( พระอาจารย์สิงห์ ขันตตยาคโม )
|
........ จากนั้นงานด้านนี้ได้เผยแพร่ไปในภาคกลางหลายจังหวัด
โดยการนำของเจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ และศิษยานุศิษย์ของท่าน งานเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนา
ได้เผยแพร่ไปยังจังหวัดต่างๆ
ในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาค ใต้โดยลำดับ นับได้ว่างานพระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ได้เผยแพร่ไปทั่วทุกภาคของประเทศ มีพุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต
สนใจบำเพ็ญภาวนาฝึกฝนจิตใจมากขึ้นอย่างน่าปิติ.
|
|
พระอาจารย์มหาปิ่น
ปัญญาพโล
|
........ พระภิกษุ
ศิษยานุศิษย์ของเจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ ผู้ได้ศึกษาอบรมทางสมถะวิปัสสนามีความรู้พอเป็นครูบา
อาจารย์ได้ ท่านเหล่านั้นได้เอาธุระอบรมสั่งสอนพุทธบริษัททางสมถะวิปัสสนาตามสติกำลัง
บางท่านมีความรู้ความสามารถ ทางการฝ่ายบริหารได้แต่งตั้งให้มีตำแหน่งฝ่ายบริหารด้วย
และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะบ้าง เป็นพระครูสัญญาบัตรบ้าง
บางท่านก็ได้เป็นพระครู ฐานานุกรมบ้างตามฐานานุรูป ในสมัยปัจจุบัน
พระเถรานุเถระฝ่ายบริหาร ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิปัสสนาธุระยิ่งกว่าแต่ก่อน
........ จึงเอาใจใส่บำเพ็ญวิปัสสนาธุระและอำนวยการให้งานฝ่านนี้ดำเนินไปด้วยดีเป็นที่น่าโมทนาความที่เคยเข้าใจแตก
ต่าง ซึ่งเป็นอุปสรรคของงานนี้ค่อยๆ ได้อันตรธานไป หวังว่าในเวลาต่อไป
งานนี้จะได้รับความเอาใจใส่ และอุปถัมภ์บำรุงให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางกว่าปัจจุบัน
และหวังว่าความเข้าใจดีต่อกันและเอกีภาพของสงฆ์จะพึงบังเกิดขึ้นในกาลต่อไปด้วย